วิชา โลกศึกษา (Global Education)
1) สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา
2) สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม
3) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มีทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ เป็นต้น
4) สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น ได้แก่ วัตถุสิ่งของทั่วไป เช่น อาคาร โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ระเบียบ กฎเกณฑ์ ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ
5) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม มีสาเหตุมาจาก มนุษย์ และธรรมชาติแวดล้อม
6) มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
7) ธรรมชาติแวดล้อม ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
8) สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ
9) สาเหตุการเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจำนวนประชากรมีมากเกินไปการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
10) Lily pad City คือ เมืองจำลองในอนาคตที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ในการช่วยเหลือคนทั้งโลกที่ต้องการลี้ภัยน้ำท่วมอันเกิดจากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน ที่กำลังคุกคามอย่างรุกคืบ
11) Capsule Noah หรือ แคปซูลโนอาห์ ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น ใช้สำหรับหลบภัยสึนามิ
12) ภูเขาป่า คือโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ช่วยแก้ปัญหาดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน
13) สึนามิ คือ แผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล
14) ลักษณะการเกิด เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงขึ้นบริเวณใต้ท้องทะเล ส่งผลให้น้ำกระเพื่อมเป็นคลื่นน้ำ เดินทางออกจากจุดศูนย์กลางเข้าหาฝั่ง เมื่อคลื่นยิ่งใกล้เข้าฝั่ง จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งอาจสูงถึง 30 เมตร ก่อนจะเกิดสนามิน้ำบริเวณชายฝั่งจะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกประมาณ 5-30 นาที คลื่นยักษ์จึงจะโถมเข้าฝั่ง
15) สาเหตุ 1. แผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะบริเวณรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่า “วงแหวนเพลิง” ในมหาสมุทรแปซิฟิก 2. ภูเขาไฟระเบิดใต้ท้องทะเล 3. อุกกาบาตตกลงกลางทะเล
16) ผลกระทบ ก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่นอาคารบ้านเรือนแก่มนุษย์
17) วิธีการรับมือ ถ้าอยู่ริมฝั่งให้รีบอพยพขึ้นที่สูง ถ้าอยู่ในทะเลให้รีบนำเรือออกห่างฝั่งให้มากที่สุด
18) ทุ่น DART หรือทุ่นตรวจจับระดับน้ำทะเล เพื่อเตือนภัยสึนามิ
19) คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
20) ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิดจากก๊าซเรือนกระจกจำพวกคาร์บอนไดออกไซด์ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ สาร CFC ซึ่งเกิดจากเครื่องทำความเย็น สีสเปรย์ โฟม ก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์
21) ปะการังฟอกสีคือ การที่ปะการังไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้จึงขาดอาหารและตายกลายเป็นสีขาว
22) ปรากฎการณ์เอลนิญโญ (EL Nino) และลานิญญา (La Nino) มักเกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 5 ปี
23) ปรากฎการณ์เอลนิญโญ (EL Nino) และลานิญญา (La Nino) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เอนโซ ENSO
24) ปรากฎการณ์เอลนิญโญ (EL Nino) เกิดจากกระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน + ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำทะเล + ความแปรปรวนของความกดอากาศเหนือระดับน้ำทะเล
25) ปรากฎการณ์เอลนิญโญ (EL Nino) และลานิญญา (La Nino) ทำให้เกิดภัยแล้ง, อุทกภัย และสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น
26) ฝนกรด (Acid rain) เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์